top of page

การผ่าตัดแก้ไขกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง

IMG_4428_edited.png
340245378_749392836651701_2198852582351729311_n_edited.png

การผ่าตัดรักษากล้ามเนื้อตาอ่อนแรงนั้น สามารถทำได้หลายแบบ ไม่ได้มีแค่การผ่าตัดชั้นกล้ามเนื้อตา เพียงอย่างเดีย ที่ ณตา จักษุคลินิก เรามีแพทย์ที่เชี่ยวชาญด้านการผ่าตัดเปลือกตาโดยตรง และรอบรู้การผ่าตัดแก้ไขกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงได้หลายวิธี ทำให้สามารถเลือกวิธีที่เหมาะสมที่สุดกับคนไข้

กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง

image_edited.png

กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง (Ptosis: อ่านว่า โท-สิส)

คือภาวะที่ลืมตาได้ไม่เต็มที่ เปลือกตาบนตกลงมาบังตาดำ ส่งผลให้บดบังการมองเห็น ซึ่งอาจเกิดข้างเดียวหรือสองข้างก็ได้ และดูเหมือนคนง่วงนอน ไม่สดใส เสียบุคลิกภาพ หากอาการเป็นมากขึ้น อาจส่งผลให้ตาเข หรือตาเหล่ได้ แต่ไม่สูญเสียการมองเห็น

อาการที่มักพบร่วมกัน เช่น เลิกคิ้วสูง เพื่อลืมตาให้กว้างขึ้น ซึ่งจะทำให้เกร็งกล้ามเนื้อบริเวณหน้าผาก ส่งผลให้เกิดริ้วรอยมากขึ้น และปวดศีรษะ นอกจากนี้ เมื่ออายุมากขึ้น อาจผิวหนังรอบดวงตาเกิดการหย่อนคล้อย และเบ้าตาลึก ร่วมได้

สาเหตุ

  1. กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงเป็นแต่กำเนิด (Congenital Ptosis)
    ภาวะตาปรือมาตั้งแต่เด็ก หากไม่ได้รับการรักษาอาการจะเป็นมากขึ้นตามอายุที่มากขึ้น เนื่องจากดวงตาปรือมาตั้งแต่เด็กทำให้มีปัญหา ทางสายตาร่วมด้วย ถ้าไม่ได้รับการรักษา การมองเห็นจะไม่ชัด เกิดภาวะตาขี้เกียจได้ (Lazy eye) ทำให้เกิดตาเหล่ หรือ ตาเข สามารถรักษาได้ด้วยวิธีการผ่าตัด

     

  2. การยืดขยายของกล้ามเนื้อตาซ้ำๆ
    พฤติกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ที่ทำเป็นเวลานาน เช่น การขยี้ตาแรงๆ ใช้คอนแท็คเลนส์ เกิดการบาดเจ็บต่อกล้ามเนื้อตา ใช้สายตาหน้าจอ TV จอคอมพิวเตอร์เป็นระยะเวลานาน นอนดึก ฯลฯ

     

  3. การผ่าตัดเปลือกตา
    การผ่าตัดตาสองชั้นที่ไม่ได้ระวังต่อกล้ามเนื้อตาสามารถทำให้เกิดกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงได้เนื่องจากกายวิภาครอบดวงตา เป็นอวัยวะที่ละเอียดอ่อนชั้นกล้ามเนื้อตาในคนเราก็มีความหนาบาง ไม่เท่ากัน บ่อยครั้งก็สามารถเกิด การบาดเจ็บจากการกรีดตาสองชั้นอยู่เสมอ เป็นสาเหตุให้เกิดอาการตาปรือ กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงจากการผ่าตัด ซึ่งมีความรุนแรง แตกต่างกันไป ควรได้รับการแก้ไขและรักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

     

  4. โรค Myasthenia Gravis
    เกิดจากความผิดปกติในการสื่อสารระหว่างเส้นประสาทและกล้ามเนื้อ ในตำแหน่งที่เรียกว่า Neuro-Muscular Junction ร่างกายจะทำการผลิตภูมิคุ้มกันซึ่งจะไปขัดขวางการจับหรือทำลายตัวรับสารที่เรียกว่า Acetylcholine ที่กล้ามเนื้อ ทำให้กล้ามเนื้อได้รับสัญญาณจากเส้นประสาทลดลงและกลายเป็นอ่อนแรง เกิดได้ทุกกล้ามเนื้อในร่างกาย แต่ที่มักเป็นปัญหาคือ กล้ามเนื้อตา ไม่สามารถรักษาได้โดยการผ่าตัด ต้องรักษาโดยการทานยาเท่านั้น

การรักษาด้วยการผ่าตัด:

การรักษา Ptosis ขึ้นอยู่กับความรุนแรงและสาเหตุของภาวะนี้ การผ่าตัดเป็นวิธีการรักษาที่พบบ่อยที่สุดสำหรับ Ptosis โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่รุนแรงหรือเมื่อภาวะนี้ส่งผลต่อการมองเห็น

วิธีการผ่าตัดที่ใช้ในการรักษา Ptosis มีอยู่ 2 วิธีหลัก ได้แก่

  • การผ่าตัดกล้ามเนื้อมุลเลอร์ (Mullerectomy): เป็นการผ่าตัดที่ละเอียดอ่อนเพื่อแก้ไข ptosis โดยการปรับกล้ามเนื้อมุลเลอร์ ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อที่รับผิดชอบในการยกหนังตา เทคนิคนี้เหมาะสำหรับ ptosis ที่มีอาการเล็กน้อยถึงปานกลาง ในระหว่างการผ่าตัดกล้ามเนื้อมุลเลอร์ ศัลยแพทย์จะทำการย่นหรือขันกล้ามเนื้ออย่างชาญฉลาด เพื่อให้หนังตาอยู่ในตำแหน่งที่เป็นธรรมชาติ ผลลัพธ์ที่ได้คือใบหน้าดูสดชื่นขึ้น ดูอ่อนเยาว์ลง และการมองเห็นดีขึ้น

  • การผ่าตัดกล้ามเนื้อเลเวเตอร์ (Levator Resection): เป็นเทคนิคการผ่าตัดเฉพาะทางที่ใช้สำหรับ Ptosis ที่มีอาการรุนแรง ในกระบวนการนี้ ศัลยแพทย์จะทำการย่นกล้ามเนื้อเลเวเตอร์ ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อที่รับผิดชอบในการยกหนังตา ด้วยการปรับความยาวของกล้ามเนื้ออย่างระมัดระวัง หนังตาจะถูกยกขึ้นไปอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง เพื่อให้การมองเห็นชัดเจนและใบหน้าดูสมดุล การผ่าตัดกล้ามเนื้อเลเวเตอร์เป็นวิธีแก้ปัญหาถาวร ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและความสวยงาม

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น:

แม้ว่าจะหายาก แต่ภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดแก้ไข ptosis อาจรวมถึง

  • การติดเชื้อ: การติดเชื้ออาจเกิดขึ้นหลังการผ่าตัด ทำให้เกิดอาการแดง บวม และรู้สึกไม่สบาย จำเป็นต้องได้รับความสนใจจากแพทย์อย่างทันท่วงที

  • การแก้ไขมากเกินไปหรือแก้ไขไม่เพียงพอ: หนังตาอาจถูกยกขึ้นมากเกินไป (แก้ไขมากเกินไป) หรือไม่เพียงพอ (แก้ไขไม่เพียงพอ) ซึ่งอาจจำเป็นต้องได้รับการปรับแต่งเพิ่มเติม

  • แผลเป็น: อาจเกิดแผลเป็นจากการผ่าตัด แต่ศัลยแพทย์จะพยายามให้เกิดแผลเป็นน้อยที่สุดและซ่อนไว้ในรอยพับหนังตาตามธรรมชาติ

  • ตาแห้ง: อาจเกิดตาแห้งชั่วคราวหรือถาวร ซึ่งอาจจำเป็นต้องใช้ยาหยอดตาหรือวิธีการรักษาอื่นๆ

  • ความไม่สมมาตร: ความสูงของหนังตาไม่เท่ากันอาจเกิดขึ้น ซึ่งอาจจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดแก้

bottom of page